Header image
www.pinyoyo.50webs.com
  หน้าหลัก .... ประวัติส่วนตัว .... ลิงค์เพื่อนๆ .... สรุปบทเรียน
 
 

ผู้สอน อาจารย์ธัญญาภัทร์ เลิศจันทรางกูร
เวลาการศึกษา ทฤษฎีสัปดาห์ละ 3 คาบ 15 สัปดาห์ รวม 45 คาบ
จุดมุ่งหมายรายวิชา
1.เข้าใจธรรมชาติของมุนษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
2.เข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู่อื่น
3.นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการแก้ปัญหาของตนเอง
4.นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัวเข้ากับสังคม
5.ตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยาและการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต

ความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาเป็นวิขาที่มีการศึกษามาตั้งแต่่ยุคกรีกโบราณเมื่อสองพันปีล่วงมาแล้ว โดยในขณะนั้นนักปรัชญาเมธีคนสำคัญได้พยายามทำความเข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักปรัชญาในขณะนั้นมีความเชื่อตรงกันที่ว่ามนุษย์มีส่วนประกอบสำคัญสองส่วน ได้แก่ ร่างกายและวิญญาณ โดยวิญญาณจะมีอิทธิพลเหนือร่างกายที่จะคอยควบคุมให้ร่างกายกระทำสิ่งต่างๆ
แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ
1.กลุ่มโครงสร้างของจิต
เป็นกลุ่มบุกเบิกในการทำจิตวิทยาได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งได้กำเนิดขึ้นในประเทศเยอรมนี การทดลองจะเกี่ยวกับการรับสัมผัส ความรวดเร็วของปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า รวมทั้งความสนใจและความจำ
2.กลุ่มหน้าที่ของจิต
ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีค.ศ.1900ให้ความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมภายในเช่นเดียวกับกลุ่มโครงสร้าง ของจิตก็ตามแต่นักจิตวิทยากลุ่มนี้กลับเห็นว่าการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของจิตมีหน้าที่อย่างไรและมีกระบวนการอย่างไร ที่ส่งผลต่อการแสดงออกของบุคคลจะเกิดประโยชน์มากกว่าการศึกษาเฉพาะโครงสร้างของพฤติกรรมภายในเท่านั้น 3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยากลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและจัดได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาท สำคัญอย่างมากต่อวงการจิตวิทยา
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์
เป็นกลุ่มจิตวิทยาอีกกลุ่มที่มีบทบาทมีความสำคัญและมีชื่อเสียงแพร่หลาย แนวคิดส่วนใหญ่จะมาจากการรักษาผู้ป่วยทางจิต
5. กลุ่มจิตวิทยาเกสตัลต์
ได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศเยอรมนีปีค.ศ.1912 ความคิดของกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับการศึกษาพฤติกรรมโดยส่วนรวมทั้งหมดไม่ได้แยกศึกษาเป็นส่วนย่อยๆ
6. กลุ่มมนุษยนิยม
เป็นกลุ่มแนวคิดทางจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการยอมรับโดยเฉพาะในวงการคำปรึกษาและวงการการศึกษา สำหรับแนวความคิดของกลุ่มนี้เป็นแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติเป็นความคิดที่ขัดแย้งกับกลุ่มพฤติกรรมนิยม
ความหมายของพันธุกรรม
พันธุกรรม หมายถึงการถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากบรรพบุรุษของฝ่ายพ่อและแม่ไปยังเด็กที่กำลังจะเกิดใหม่โดยอาศัยยีน เป็นตัวนำและผ่านกระบวนการทางชีวิทยาภายในร่างกาย
ความหมายของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวบุคคลซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้ากระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนอง
ประเภทของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคคล
1.สิ่งแวดล้อมก่อนเกิด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลตั้งแต่เริ่มเกิดการปฏิสนธิภายในครรภ์มารดาจนครบกำหนดคลอด
2.สิ่งแวดล้อมขณะกำลังเกิด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อทารกตั้งแต่เริ่มคลอดจากครรภ์มารดา
3.สิ่งแวดล้อมหลังคลอด หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคคลนับตั้งแต่คลอดออกมาสู่โลกภายนอก
อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านต่างๆ
1.ความแตกต่างทางด้านร่างกาย
2.ความแตกต่างทางด้านสติปัญญา
3.ความแตกต่างทางด้านอารมณ์
4.ความแตกต่างทางสังคม
5.ความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ
ความหมายของพัฒนาการ
คำว่าพัฒนาการ ในความหายที่ใช้กันทั่วไป หมายถึงความเจริญงอกงามและการเปลี่ยนแปลงไปในทางทีดีขึ้น
แต่ในทางด้านจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ พัฒนาการหมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
เช่น ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของบุคคลอย่างมีขั้นตอนและเป็นระเบียบแบบแผน นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่ง
เสียชีวิตโดยมากจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ เพื่อให้บุคคลนั้นพร้อมจะแสดงความสามารถในการกระทำกิจกรรมใหม่
พัฒนาการของบุคคลในวัยต่างๆ
1.วัยทารก
วัยทารกเป็นวัยที่อยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 2 ปี พัฒนาการด้านต่างๆในวัยยี้ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการในวัยต่อๆไป
2.วัยเด็ก
วัยนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 2-12 ปี เป็นระยะที่ร่างกายเจริญเติบโตช้าลงกว่าในวัยทารกโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นของวัย
ความสูงของเด็กจะเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แต่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็สชัดเจนอีกครั้งเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายของวัย 3.วัยรุ่น
วัยนี้จะอยู่ในช่วงอายุ 12-20 ปี นับว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญมากอีกวัยหนึ่งของมนุษย์ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตเนื่องจากเป็นวัยที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการในทุกด้าน เพื่อเปลี่ยนจากความเป็นเด็กเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
4.วัยผู้ใหญ่
วัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไปจนตลอดชีวิต ผูู้ใหญ่เป็นอีกวัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์กล่าวคือ นอกจากจะเป็นวัยแห่งความสมบูรณ์สูงสุดของพัฒนาการในด้านต่างๆ ยังเป็นวัยเริ่มต้นแห่งความเสื่อมของพัฒนาการทุกด้านอีกด้วย
5.วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยชรา
วัยนี้จะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป วัยนี้ถือว่าเป็นระยะสุดท้ายของชีวิต
สำหรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆจะมีลักษณะเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด
ความหมายของการรับสัมผัส
การรับสัมผัส หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้นกับร่างกายภายหลังเมื่อมีสิ่งเร้าต่างๆ ทำให้ร่างกายรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา
อาจกล่าวได้ว่าการที่บุคคลจะเกิดการรับสัมผัสสิ่งเร้าใดๆได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยอวัยวะรับสัมผัสของร่างกายเป็นปัจจัยสำคัญ
ความหมายของการรับรู้
การรับรู้เป็นขั้นตอนหนึ่งที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเกิดกระบวนการรับสัมผัสขึ้นกับร่างกาย กล่าวคือ เมื่อสิ่งเร้าทั้งหลายมากระตุ้น
อวัยวะรับสัมผัสเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากสิ่งเร้าจะเปลี่ยนพลังงานนั้นให้เป็นกระแสเพื่อส่งไปยังสมองเขตต่างๆ
ที่ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น จากนั้นจึงแปลความหมายให้รู้และเข้าใจได้ว่าสิ่งเร้านั้นคืออะไร เพื่อจะได้แสดงพฤติกรรมตอบสนอง
ต่อไปการที่สมองสามารถแปลความหมายได้ว่าสิ่งเร้านั้นคืออะไร เรียกว่าการเรียนรับรู้
การรับรู้ด้วยสัมผัสพิเศษและพลังจิต
1.โทรจิต เป็นลักษณะของการสื่อสารชนิดหนึ่งโดยใช้การส่งกระแสจิตถึงกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
ทำให้ผู้รับสามารถรับรู้สิ่งที่ผู้ส่งต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม
2.ญาณทิพย์
เป็นการรับรู้วัตถุ สิ่งของ บุคคลหรือเหตุการณืต่างๆตามที่บุคคลนั้นต้องการโดยไม่ต้องอาศัยอวัยวะรับสัมผัส
แต่ใช้ญาณพิเศษในตัวที่ทำให้เห็นภาพในสิ่งที่ต้องการจะเห็นในมโนภาพอย่างแจ่มชัดเหมือนดูโทรทัศน์
3.การล่วงรู้เหตุกาณ์ืล่วงหน้า
เป็นการรับรู้เหตุการ์์ล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยไม่จำกัดเวลา ในบางครั้งเป็นร้อยๆปี การรับรู้ประเภทนี้ทำให้เกิด
การพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
พลังจิต
เป็นการใช้พลังงานทางจิตเพื่อควบคุมวัตุให้เคลื่อที่หรือโค้งงอได้ตามความประสงค์ พลังจิตนี้เชื่อกันว่ามีอยู่ในมนุษย์ทุกคน
แต่ยังไม่สามารถค้นพบวิธีควบคุมได้
ความหมายของการจูงใจ
การจูงใจ หมายถึง กระบวนการของการใช้ปัจจัยทั้งหลายที่จะทำให้บุคคลเกิดความต้องการเพื่อสร้างแรงขับและแรงจูงใจไป
ไปกระุตุ้นร่างกายให้แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้ โดยปัจจัยดังกล่าวนั้งอาจจะเป็นสิ่งเร้าภายนอกกับสิ่งเร้าภายใน หรือทั้งสองประการก็ได้
สิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับการจูงใจ
1.พฤติกรรมที่เกิดจากการจูงใจนั้งจะต้องมีเป้าหมายเสมอ
2.พฤติกรรมบางอย่างของบุคคลอาจถูกจูงใจให้กระทำ
3.กระบวนการจูงใจที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่คงที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ประเภทของแรงขับและแรงจูงใจ
1.แรงขับปฐมภูมิ
หรือแรงขับทางกายถือได้ว่าเป็นแรงขับพื้นฐานที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ เป็นแีรงขับที่เกิดขึ้น
เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะของการขาดความสมดุลจนทำให้เกิดความต้องการขึ้น แรงขับดังกล่าวจะรบกวนร่างกายให้แสดง
พฤติกรรมตอบสนองตามความต้องการนั้นๆ
2.แรงจูงใจทุตยภูมิ
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแรงจูงใจทางสังคม ทั้งนี้เนื่องจากแรงจูงใจประเภทนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่เกิดจากการที่บุคคลได้เรียนรู้จากสังคมที่ตนอาศัยอยู่
ความหมายของการเรียนรู้
ถ้าถามว่า “การเรียนรู้คืออะไร” คนทั้วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการศึกษาจะตอบต่างๆกันว่า การเรียนคือ “การรู้ความจริง”  “การปรับตัวใหม่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” “การจดจำได้”  “การปฎิบัติทดลอง” ผู้ที่อยู่ในแวดวังจิตวิทยาก็จะให้ทัศนคติต่างๆกันว่า การเรียนคือ“การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของอินทรีย์” “การจัดชีวิตให้อยู่ในสมดุล”“การเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์” “การเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า” “การได้มีประสบการณืใหม่เพิ่มขึ้น”“การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการปฎิบัติ” ซึ่งแท้จริงแล้วคำตอบเหล่านี้เป็นทัศนความหมายของ “การเรียน” ในแง่ของทางจิตวิทยาที่ถูกต้องยอมรับได้ทั้งสิ้น
ความเป็นมา
ในศตวรรษที่ 18 และ 19 นักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้นำเอาหลักเบื้องต้นของความสัมพันธ์ของอริสโตเติ้ลไปเผยแพร่ และเพิ่มเติมความคิดว่าประสบการณ์ในการเรียนรู้จะทำให้มนุษย์รวบรวมแนวความคิดทั่วไปให้กลายเป็นแนวความคิดที่ซับซ้อน โดยอาศัยหลักด้านความสัมพันธ์ แต่ว่าความเชื่อถือเหล่านี้ยังมิได้มีการใช้หลักวิทยาสาสตร์เข้าช่วยจนกระทั่งในปลายศตวรรษที่ 19 มีการเริ่มศึกษาเรื่องการเรียนโดยวิธีวิทยาศาสตร์ ปี ค.ศ. 1879-1885 เอบบิงฮอส (Ebbinghaus) ได้นำหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการศึกษาค้นคว้าทอลองเรื่องการเรียนรู้และความจำ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลการทดลองของเขานับว่ามีความสำคัยต่อด้านจิตวิทยามาก เพราะเป็นความพยายามที่จะประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษากระบวนการทางสมอง คือกระบวนการเรียนรู้นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของการศึกษาเรื่องการเรียนรู้ หลังจากนั้นกระบวนการเรียนรู้ก็ไดเมีนักจิตวิทยาสนใจศึกษาและวิเคราะห์กันอย่างกว้างขวางดังเช่น ธอร์นไดค์ (Thorndike) ได้ทดลองและตั้งทฤษฎีการเรียนรู้ โดยใช้ Puzzle box กับแมวหิว
กระบวนการการเรียนรู้
อาจเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหรืออาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ได้มีการตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ไว้ก่อนก็ได้ การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนดังนี้ คือมี สิ่งเร้า (Stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (Organism) ประสาทก็ตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสหรือเพทนาการ (Sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่นๆ เรียกว่า สัญชาน หรือ การรับรู้ (Perception) เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (Conception) แล้วมีปฎิกริยาตอบสนอง (Response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่า การเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว ประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว

 

Copyright © 2009